การละหมาดญะเมาะอฺ (ละหมาดรวม)
การละหมาดญะเมาะอฺ ซึ่งคนเดินทางไกลได้รับการผ่อนผันให้รวมเอาการละหมาดฟัรดู 2 เวลาเข้าด้วยกันนั้น อนุญาตให้รวมได้ 2 ชนิดคือ
รวมในเวลาแรก เรียกว่า ญะเมาะอ์ ตักดีม
รวมในเวลาหลัง เรียกว่า ญะเมาะอ์ ตะอ์คีร
แต่มีเงื่อนไขว่าละหมาดที่จะรวมกันได้นั้น คือละหมาดดุฮ์รีร่วมกับอัสริ และมักริบรวมกับอิซาเท่านั้น จะรวมกันโดยวิธีอื่นไม่ได้
ญะเมาะฮ์ตั๊กดีม (การรวมในเวลาแรก) มีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องเนียตว่าเอาละหมาดอัสริมารวมกับดุฮริ หรือเอาอิซามารวมกับมักริบ
- ต้องละหมาดดุฮ์ริก่อนอัสริในเวลาดุฮ์ริ หรือละหมาดมักริบก่อนอิซาในเวลามักริบ
- การต้องละหมาดที่รวมกันระหว่างละหมาดแรกกับละหมาดหลัง อย่าให้ทิ้งห่างกันนานนัก
- กาเดินทางไกลต้องยังไม่ถึงจุดหมายก่อนที่จะตักบีร ละหมาดหลัง
วิธีละหมาดกอซ้อรและญะเมาะอ์ตั๊กดีมโดยอัสริรวมกับดุฮ์ริ
เมื่อถึงเวลาละหมาดดุฮ์ริ ให้ละหมาดดุฮ์ริ 2 ร่อกะอัต โดยเนียตว่า
" อุซ้อลลีฟัรด๊อลดุฮ์ริ ร๊อกอะไตนี่ ก๊อซรอน มัจญ์ มูอันอิลั้ลอัสรี่ อะดาอัน ลิ้ลลาฮี่ตะอาลา...
โรคซึมเศร้า! ภัยเงียบทำลายชีวิต บำบัดจิตแบบอิสลาม โดย นพ.กษิดิษ ศรีสง่า
เชื่อว่าหลายคน น่าจะได้ยินข่าวกันอยู่บ้าง เรื่องโรคซึมเศร้า ที่ฟังดูแล้วไม่น่าจะหนักหนา แต่ก็คร่าชีวิตคนมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักร้อง นักแสดง นักธุรกิจร่ำรวยพันล้าน คนทั่วไป หรือแม้แต่ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มักมีอาการซึมเศร้า จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวและไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป เรามารู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้นเผื่อมีคนใกล้ตัวกำลังคิดท้อแท้ สิ้นหวังในชีวิต ทำให้เป็นโรคนี้ขึ้นมาจะได้มีวิธีป้องกันได้ทันท่วงที
สกู๊ปข่าวฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก “นพ.กษิดิษ ศรีสง่า” แพทย์ประจำโรงพยาบาลกรุงเทพ มาช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงอาการที่ควรเฝ้าสังเกตและวิธีการแก้ปัญหาทางออกของโรคซึมเศร้านี้ทั้งด้านการแพทย์และการบำบัดจิตแบบอิสลาม
นพ.กษิดิษ กล่าวว่า เราหลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า โรคซึมเศร้า และหลายๆ คนคงคุ้นเคยกับอาการซึมเศร้า และหลายๆ คนอีกเช่นกัน คงเคยมีอาการเศร้า เสียใจ จากความผิดหวัง หรือสูญเสียในเรื่องต่างๆ มากันแล้วมากมาย วันนี้เรามาลองเรียนรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้ากัน
อย่างแรกคือ โรคซึมเศร้า หรือที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า Depression นั้น เป็นโรคชนิดหนึ่ง ส่วนคำว่า...
รู้หรือไม่!? คืนนิสฟูซะอฺบาน สำคัญอย่างไร
คืนนิสฟูซะอฺบาน ถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของศาสนา คือคืนวันที่ 15 ของเดือนซะอฺบาน คำว่า นิสฟู แปลว่า ครึ่ง ดังนั้นนิสฟูซะอฺบานจึงแปลว่า ครึ่งของเดือนซะฮฺบาน ซึ่ง เดือนชะอฺบาน เป็นเดือนที่ประชาชาติอิสลามให้ความสำคัญอีกเดือนหนึ่ง เพราะเป็นเดือนอารัมภบทสำหรับเดือนรอมะฏอนอันมีเกียรติ อีกทั้งเป็นเดือนแห่งการฝึกฝนการถือศีลอด คืนนิสฟูซะอฺบานจึงเป็นสัญญาณเตือนบอกให้เรารู้ว่าเดือนรอมฎอนได้ใกล้เข้ามาแล้ว สำหรับผู้ที่ปีที่แล้วได้ขาดศีลอดคืนนิสฟูซะอฺบานนี้ก็เป็นสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่า เราควรรีบชดใช้ให้ครบ
สำหรับเดือนชะอฺบานนี้ท่านศาสดาเองได้เอ่ยถึงความประเสริฐของมันครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ฮาดีษที่ได้บันทึกโดยอีหม่ามบุคอรีและอีหม่ามมุสลิมสีบสายรายงานมาจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ร.ด.ฮ) นางกล่าวว่า :
مَا رَأيْتُ رَسُوْلُ الله .صَ. : إسْتَكْمَلَ صِيَامَ شَهْرٍِ قَطُّ, إلاَّ شَهْرَ رَمَضَانَ ,...
การสักตามร่างกายในมุมมองของอิสลามเป็นอย่างไร
ศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่มีหลักการสอดรับกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานสักเพียงใดหลักการของอิสลามก็ยังคงทันสมัย และสามารถนำมาใช้ได้อยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นแล้วอิสลามยังเป็นศาสนาที่มีความสมบูรณ์แบบดังที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงตรัสรับรองเอาไว้อย่างชัดเจนในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อายะฮฺที่ 3 ของซูเราะฮฺ อัลมาอิดะฮฺอย่างชัดเจนว่า
الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإسْلامَ دِينًا ﴾ المائدة: 3﴿
ความว่า " วันนี้เราได้ทำให้ศาสนาของพวกท่านสมบูรณ์แบบแล้ว และวันนี้เช่นเดียวกันเราได้มอบเนียะมัตของเราให้กับพวกท่านอย่างครบถ้วนแล้ว อีกทั้งเรามีความยินดีที่อิสลามนั้นเป็นศาสนาของพวกท่านทั้งหลาย "
ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ อิสลามไม่ใช่เป็นเพียงแค่ศาสนาเท่านั้น หากแต่ว่าอิสลามนั้นคือวิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีศรัทธา เรื่องทุกเรื่องที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้มีศรัทธาอิสลามมีคำตอบและทางออกให้ทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องนั้นจะหนักหนาสาหัสแค่ไหนก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้คนบางคนสงสัยว่า การสักอวัยวะต่างๆสามารถกระทำได้หรือไม่ ??? เพราะในปัจจุบันการสักผิวหนังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย บางคนสักเป็นแฟชั่นเหมือนดาราชื่อดังหลายๆ คน บางคนสักเพื่อลดระยะเวลาในการแต่งหน้า...
การบำบัดโรคต่างๆ ด้วยการอ่านอัลกุรอาน โดย ดร.ฮัสบุ้ลเลาะหฺ เซ็มมี
ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ในยุคปัจจุบันเราต้องยอมรับว่า มีโรคร้ายสายพันธ์ใหม่ๆเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ของเรามากมมายจนนับไม่ถ้วน โรคบางชนิดปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่บางโรคก็มีการค้นคว้าหาตัวยารักษาจนกระทั่งพบตัวยารักษาที่สามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เนื่องมาจากพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ประกอบกับวิวัฒนาการทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย อีกทั้งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้นในยุคปัจจุบัน
หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการรักษาโรคต่างๆด้วยการอ่านอัลกุรอาน ถ้าเราได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียด เราก็จะพบว่าในคัมภีร์อัลกุรอานนั้นมีคำว่า " شِفَاءٌ " และ " يَشْفِيْ " ซึ่งอยู่ในรูปของคำนามและคำกริยา มีความหมายเป็นภาษาไทยว่า " การรักษาเยียวยา หรือการบำบัด " ถูกกล่าวถึง 6 ครั้งในคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งอายะฮ์ทั้ง 6 นี้ถูกเรียกว่า ( آيَاتُ الشِّفَاءِ ) หริอมีความหมายเป็นภาษาไทยว่า " โองการแห่งการบำบัด "
โองการที่ 1...
รู้หรือไม่ ทำไมชายมุสลิมถึงไว้หนวดเครา?
ท่านรอซูลลุลอฮ์กล่าวว่า
"พวกท่านจงทำตัวให้แตกต่างจากพวกมุชริก (พวกที่ตั้งภาคี) โดยที่พวกท่านปล่อยเครา และเล็มหนวดของพวกท่านเถิด" (บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 5442)
"แท้จริงท่านนบีสั่งใช้ให้เล็ม (ตัด) หนวด และปล่อยเครา" (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 381)
1. ท่านรอซูลสั่งใช้ให้มุสลิมชายทุกคนไว้หนวดและเล็มหนวดให้เรียบร้อย และกำชับให้ปล่อย(หรือเลี้ยงเครา)
2. การปล่อยเคราเป็นเอกลักษณ์ของมุสลิมชาย อีกทั้งยังเป็นการทำตัวให้แตกต่างจากพวกมุชริกอีกด้วย สาเหตุเพราะพวกมุชริกไม่ไว้หนวดไว้เครานั่นเอง
3. ปัจจุบันผู้ชายส่วนใหญ่จะทำให้ใบหน้าคล้ายกับผู้หญิง ฉะนั้นการไว้หนวดไว้เคราจึงเป็นการบ่งชี้ว่า
มุสลิมชายจะต้องมีหนวดมีเคราเพื่อให้แตกต่างจากเพศหญิง หรือหลีกเลี่ยงการเลียนแบบเพศหญิง จงทำให้แตกต่างจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา จงไว้เคราและจงตัดหนวดให้สั้น? เหตุผลการไว้เครานั้นเป็นสิ่งจำเป็นในการจำแนกความแตกต่างระหว่างผู้ ที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม ในที่นี้หมายถึงพวกบูชาไฟซึ่งพวกเขาถูกใช้ให้โกนเครา ท่านศาสดา มุฮัมมัด (ขอความสันติและความเมตตาจงประสบแด่ท่านด้วย) ต้องการสอนบรรดามุสลิมว่า...
รวมดุอาอฺที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
รวมดุอาอฺที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ดุอาอฺก่อนนอน
بِاسْمِكَ الّلهُمَّ أَحْيَي وَأمُوْتُ
โอ้อัลลอฮ์ ฉันจะนอนและตื่นด้วยพระนามของพระองค์
- ดุอาอ์ตื่นนอน
الْحَمْد لِلّهِ الَّذِىْ أَحْيَا نَا بَعْدَ مَا أَمَاتَنَاوَإِلَيْهِ النُّشُوْرُ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิแด่อัลลอฮ์ ซึ่งให้เรามีชีวิตชีวาหลังจากที่ได้ให้เราตายไป และเราทั้งหลายจะต้องกลับคืนสู่พระองค์
- ดุอาอ์ดื่มนม
اللّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيْهِ وَزِدْنَامِنْهُ
โอ้อัลลอฮ์ โปรดประทานความจำเริญในน้ำนมแก่เราและโปรดเพิ่มพูนมันให้แก่เรา
- ดุอาอฺก่อนรับประทานอาหาร
اللّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيْمَا رَزَقْتَنَا وَقِنَاعَذاَبَ النَّارِ
โอ้อัลลอฮ์ โปรดประทานความจำเริญในปัจจัยยังชีพแก่เรา และโปรดปกป้องเราให้พ้นจาไฟนรก
- ดุอาอฺหลังรับประทานอาหารและดื่มนม
الْحَمْدُ لِلّهِ الّذِى أَطْعَمَنَا وَسَقَانَاوَجَعَلَنَامُسْلِمِيْنَ
มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ซึ่งให้อาหารและน้ำแก่เรา และได้บันดาลให้เราเป็นมุสลิม
- ดุอาอฺเข้าห้องน้ำ
اللّهُمَّ إِنّى...
เลี้ยงแมวแล้วได้อะไร? โดย อ.อับดุลอะซีซ ขำเจริญ
อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้ผู้ศรัทธามีความอ่อนโยน เมตตา สงสารอยู่เสมอ ไม่ว่าจะกับคนด้วยกัน หรือแม้กระทั่งกับสัตว์เล็กๆ ก็ตาม ท่านนบีมุฮำหมัด (ซ.ล.) เป็นผู้ที่มีความเมตตาอ่อนโยน และชมชอบแมวเป็นอย่างมาก
รายงานวิจัยฉบับนี้จะพาท่านผู้อ่านไปเห็นถึงประโยชน์ในการเลี้ยงแมว เลี้ยงแล้วได้อะไร? เลี้ยงแบบทิ้งขว้าง กักขังแมวจะบาปไหมอย่างไร? หรือแม้กระทั่งการซื้อ-ขายแมวสามารถทำได้ไหมในอิสลาม ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังสงสัยอยู่ เรามาหาคำตอบกันโดย “อาจารย์อับดุลอะซีซ ขำเจริญ” หัวหน้าฝ่ายวิชาการแห่งสภายุวมุสลิมโลก (WAMY) จะมาช่วยไขข้อข้องใจต่างๆ
อ.อับดุลอะซีซ กล่าวว่า ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ท่านถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมตตาต่อสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกใบนี้ อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ว่า:
وَمَا أَرْسَلْنَاكَ إِلَّا رَحْمَةً لِّلْعَالَمِينَ
“และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย” (อัลอัมบิยาอฺ 107)
ดังที่ท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.) ได้บอกเล่าเรื่องราวในทำนองดังกล่าวกับบรรดาอัครสาวกของท่านในวันที่ท่านได้ทำการส่งเสริมให้พวกเขามีความเมตตาต่อสัตว์ว่า
« بَيْنَمَا رَجُلٌ يَمْشِى بِطَرِيقٍ...
ทำไมเวลาละศีลอดต้องรับประทานอินทผาลัมก่อน
ทำไมเวลาละศีลอดต้องรับประทานอินทผาลัมก่อน
ทำไมแก้บวชหรือละศีลอดด้วยการทานอินทผลัม คำตอบก็คือ ประการแรกปฏิบัติตามคำแนะนำของท่านศาสดา(ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ท่านเคยแนะนำว่า “เมื่อคนหนึ่งในพวกท่านประสงค์จะละศีลอด ก็จงละศีลอดด้วยผลอินทผลัม หากไม่มีก็ให้ละด้วยน้ำ เพราะน้ำนั้นบริสุทธิ์”(บันทึกโดยอะบูดาวูด) และท่านศาสดาก็ชอบที่จะละศีลอดด้วยอินทผลัม ดังมีรายงานหะดิษ(คำสอน)จากอะนัสบินมาลิกความว่า “ท่านศาสดาละศีลอดก่อนละหมาด(มัฆริบ)ด้วยอินทผลัมสดเล็กน้อย หากไม่มีอินทผลัมสดท่านจะละศีลอดด้วยอินทผลัมแห้ง และหากไม่มีท่านก็ละศีลอดด้วยน้ำ”(บันทึกโดยติรมิซีย์)
อีกประการหนึ่งก็คือ การละศีลอดด้วยอินทผลัมเกิดผลดีต่อสุขภาพหลายประการตามผลวิจัยทางการแพทย์ที่ได้พิสูจน์แล้วว่า อินทผลัมเป็นผลไม้มงคลที่ให้คุณต่อการโภชนาการอย่างน่าอัศจรรย์ กล่าวคือ เมื่อเราถือศีลอดต้องอดอาหารมาทั้งวัน ร่างกายก็เกิดความหิวเพราะขาดสารน้ำตาล เมื่ออินทผลัมเป็นผลไม้ที่มีความหวาน เมื่อทานอินทผลัมเข้าสู่กระเพาะอาหาร มันจะเป็นผลไม้ที่ย่อยง่ายเพียงไม่เกิน 20 นาที ร่างกายก็ถูกเติมเต็มด้วยสารน้ำตาลทำให้ลดความหิวได้ในทันที และที่สำคัญผู้ที่ละศีลอดด้วยการทานอินทผลัมแม้เพียงเล็กน้อยก็จะอิ่มและจะทานอาหารอื่นๆน้อยลง เป็นการลดน้ำหนักไปในตัว อินซาอัลเลาะห์
อิสลามสอนตั้งสติก่อนเปล่งคำอุทานนั้นออกไป
คำอุทานเป็นประโยคที่เราจะใช้เวลาตกใจ หรือแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่มีความหมายอะไร เช่น อุ๋ย โอ้ย โอ้โห เป็นต้น แต่ก็จะมีคำพูดหรือประโยคที่อุทานฟังแล้วระคายหู ที่จะออกแนวหยาบคาย แนวลามก หรือคำพูดที่ออกมาจากอารมณ์โดยไม่ได้กลั่นกรอง เช่น อยากตาย โอ้ยเมื่อไรจะหายสักที เหนื่อยวะ อิ่มโว้ย เป็นต้น กัมปงไทยฉบับนี้มาค้นหาข้อมูลว่าการพูดในอิสลาม ขอบเขต มารยาท ผลกระทบของการพูด ยกตัวอย่างในสมัยนบีว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นในสมัยนั้น นำมาเพื่อเตือนใจพี่น้องมุสลิม จากอาจารย์ ชารีฟ ศรีเจริญ
ต่อกรณีในเรื่องคำอุทานของพวกเรา โดยเฉพาะพี่น้องมุสลิมบางครั้งอาจจะเกินเลย อาจจะฟังดูแล้วไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไหร่ ฟังดูแล้วอาจจะกระทบความรู้สึกในบางถ้อยคำ เราต้องเข้าใจคำว่าอุทานก่อน คำว่าอุทานบางครั้งไม่ได้เป็นประโยค เพราะว่าประโยคฟังแล้วต้องได้ใจความ เป็นการเปล่งเสียงออกไปเพื่อแสดงความรู้สึกของอาการช่วงเวลานั้น จะเป็นอาการโกรธ อาการดีใจ อาการตกใจ บางครั้งคำออกไปแล้วหาความไม่ได้ หรือบางครั้งเป็นถ้อยคำไม่มีความหมายในภาษาไทย หรือบางครั้งมีความหมายแต่เป็นความหมายที่อาจจะไม่ค่อยจะถูกต้อง...
ข่าวเด็ด
โพสล่าสุด
บรรยากาศการส่งผู้แสวงบุญไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเที่ยวบินปฐมฤกษ์ หาดใหญ่- มาดีนะย์ เป็นไปอย่างอบอุ่น
ที่ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา บรรยากาศการส่งผู้แสวงบุญที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นเที่ยวบินปฐมฤกษ์ เป็นไปอย่างอบอุ่น โดยมี นายมาหะมะสกรี วาแม รองผู้ราชการจังหวัดสงขลา ประธานพิธีอำนวยพรและส่งชาวไทยมุสลิมเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ในเทศกาลฮัจย์ ประจำปี พ.ศ. 2566 (ฮ.ศ. 1444) พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และคณะทำงานอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้
นายมาหะมะพีสกรี กล่าวว่า การเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของพี่น้องชาวไทยมุสลิม เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง...