บังกลาเทศจะย้ายโรฮีนจาไปเกาะบาชันจาร์หลังทุ่ม 9.1 พันล้านบาทสร้างที่พัก
นายกรัฐมนตรีเชค ฮาสินาของบังกลาเทศจะเป็นประธานเปิดที่พักใหม่ให้ผู้ลี้ภัยโรฮีนจาในวันที่ 3 ตุลาคมที่บาชันจาร์หรือธังการ์จาร์ เกาะเล็กๆ ที่เพิ่งโผล่พ้นน้ำในอ่าวเบงกอลเมื่อปี 2549 ล่าช้าจากกำหนดเดิมที่ทางการบังกลาเทศเผยว่าจะเริ่มย้ายผู้ลี้ภัยโรฮีนจาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ก่อนเข้าสู่ฤดูมรสุม เจ้าหน้าที่จัดการภัยพิบัติอาวุโสเผยว่า กองทัพเรือได้เร่งก่อสร้างที่พักและศูนย์อพยพจนโครงการเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วเกือบสามในสี่ เริ่มแรกจะย้ายผู้อพยพ 50-60 ครอบครัวก่อน
บังกลาเทศเป็นประเทศลุ่มต่ำจึงเสี่ยงภัยจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงถูกไซโคลนในอ่าวเบงกอลถล่ม โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน-พฤศจิกายน และช่วง 50 ปีที่ผ่านมามีคนเสียชีวิตเพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายแสนคน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ริมฝั่งใกล้บาชันจาร์ที่จะย้ายผู้ลี้ภัยโรฮีนจาไป เกาะนี้ใช้เวลานั่งเรือ 1 ชั่วโมงจากเกาะที่ใกล้ที่สุด บังกลาเทศทุ่มงบประมาณ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9,120 ล้านบาท) สร้างที่พักบนเกาะนี้แม้ว่ากลุ่มสิทธิเรียกร้องให้ยกเลิกโดยอ้างว่าไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย เจ้าหน้าที่กองทัพเรือเผยว่า ได้สร้างคันกั้นน้ำสูง 3 เมตรล้อมรอบเกาะทั้งหมดเพื่อป้องกันน้ำท่วมแล้ว
ที่มา : สำนักข่าวไทย
ซาอุฯย้ำ ต้อนรับผู้แสวงบุญชาวกาตาร์เป็นอย่างดี
ถึงแม้เหตุการณ์กรณีพิพาทระหว่างอ่าวอาหรับยังคงดำเนินอยู่ แต่สภากิจการฮัจย์และอุมเราะห์ของซาอุดิอาระเบียนั้นให้การต้อนรับผู้มาแสวงบุญชาวกาตาร์เป็นอย่างดี ทั้งในการทำฮัจย์และอุมเราะห์
ทางสภาฯ กล่าวต่ออีกว่า ซาอุดิอาระเบียจะให้การต้อนรับผู้แสวงบุญชาวกาตาร์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะมีกลุ่มผู้ต่อต้านที่ไม่เห็นด้วยก็ตาม
สำหรับการทำอุมเราะห์ของชาวกาตาร์นั้น ชาวกาตาร์สามารถบินตรงมายังซาอุดิอาระเบียโดยสายการบินกาตาร์ แอร์เวส์ ได้โดยไม่มีปัญหา ส่วนการทำฮัจย์ของชาวกาตาร์หรือผู้ที่ถือวีซ่าเพื่ออยู่อาศัยในกาตาร์นั้น จะสามารถทำฮัจย์ได้ ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตประกอบพิธีฮัจย์จากหน่วยงานของซาอุดิอาระเบีย และจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกาตาร์ เพื่อที่จะได้เดินทางเข้ามาอย่างถูกต้อง โดยต้องได้การอนุมัติจากทางการโดฮาและการบินพลเรือนของซาอุดีอาระเบีย ทั้งนี้ผู้ที่จะมาทำฮัจย์จากกาตาร์จะต้องเดินทางมายัง สนามบินนานาชาติ King Abdul Aziz ในเมืองเจดดาห์ และสนามบินนานาชาติ Prince Mohammed Bin Abdul Aziz ในเมืองมาดีนะห์เท่านั้น
ทางสภาฯ ได้กล่าวเสริมอีกว่า ผู้ที่จะมาทำฮัจย์และอุมเราะห์ในปีนี้มีจำนวนกว่า 6.75 ล้านคน
ผู้นำอิรักเดินทางเยือนเมืองโมซุล เพื่อประกาศชัยชนะหลังชิงเมืองคืนจากกลุ่มไอเอส
นายกรัฐมนตรีไฮเดอร์ อัล-อาบาดีของอิรัก ประกาศชัยชนะที่เมืองโมซุลของอิรักหลังกองกำลังอิรักเข้าปลดปล่อยเมืองโมซุลจากกลุ่มไอเอสสำเร็จแล้วเมื่อวานนี้
สำนักงานนายกรัฐมนตรีอิรัก ออกแถลงการณ์ระบุว่า นายอาบาดี เดินทางเยือนเมืองโมซุล เพื่อแสดงความยินดีแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน รวมถึงประชาชนชาวอิรัก แก่ความสำเร็จในชัยชนะครั้งนี้ นายอาบาดีกล่าวว่า ทางกองกำลังอิรักได้รับชัยชนะแน่นอนแล้ว เหลือนักรบกลุ่มไอเอสอยู่ในเมืองโมซุลเพียงไม่กี่คนเท่านั้น การสู้รบเพื่อปลดปล่อยเมืองโมซุลเริ่มเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีพลเรือนเสียชีวิตจำนวนมาก และมีประชาชนมากกว่า 9 แสนคนต้องลี้ภัยออกจากบ้าน กองกำลังของอิรัก บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายพันคน รัฐบาลอิรักจะยังต้องพบกับความท้าทายครั้งใหญ่อีก ไม่เพียงแต่การบูรณะเมืองโมซุล แต่เป็นการต่อสู้กับกลุ่มไอเอสในพื้นที่อื่นๆ ของอิรัก
ตุรกีมีแผนจะซ่อมแซมมัสยิดหลายสิบแห่งในซีเรียที่ถูกผู้ก่อการร้ายทำลาย
มูลนิธิ Diyanet ของตุรกีมีแผนจะซ่อมแซมมัสยิดหลายสิบแห่งในประเทศซีเรียที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักในสงครามอย่างต่อเนื่อง
Mustafa Tutkun กล่าวกับ Anadolu Agency ว่ามูลนิธิของรัฐร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีกำลังวางแผนที่จะสร้างและซ่อมแซมมัสยิด 66 แห่ง ซึ่งโครงการนี้จะดำเนินการในสถานที่ที่ถูกผู้ก่อการร้ายทำลาย
นอกจากนี้ Tutkun กล่าวว่ามูลนิธิได้ฟื้นฟูและเปิดมัสยิดจำนวน 127 แห่งโดยความร่วมมือกับคณะกรรมการศาสนาซึ่งได้รับความเสียหายจากกลุ่มความหวาดกลัวของ PKK ในตุรกีตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้
ซีเรียอยู่ในสงครามกลางเมืองที่หายนะตั้งแต่ต้นปี 2011 เมื่อระบอบการปกครองของ Bashar al-Assad ปราบปราม การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยซึ่งปะทุขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการลุกฮือของชาวอาหรับในฤดูใบไม้ผลิโดยไม่คาดฝัน
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมานับร้อยนับพันคนเชื่อว่าจะถูกสังหารและผู้ลี้ภัยอีกหลายล้านคนต้องอพยพออกจากความขัดแย้ง
สหรัฐฯ จะขึ้นบัญชีดำ 28 บริษัทจีนที่มีส่วนพัวพันการกดขี่ชาวมุสลิมอุยกูร์
“สหรัฐฯ ไม่สามารถและจะไม่ทนต่อการกดขี่ชนกลุ่มน้อยภายในจีน” วิลเบอร์ รอส รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ประกาศความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งห้ามไม่ให้บริษัทตามรายชื่อซื้อสินค้าสหรัฐฯ
บริษัทติดบัญชีดำเหล่านี้รวมถึงบริษัทกล้องวงจนปิด Hikvision รวมทั้งบริษัทปัญญาประดิษฐ์ Megvii Technology และ SenseTime อ้างจากข้อมูลล่าสุดในบันทึกราชการ (Federal Register) ที่จะเผยแพร่ในวันพุธ (9)
คำสั่งแบนนี้ออกมาท่ามกลางความตึงเครียดสูงระว่างสหรัฐฯ และจีน โดยเฉพาะในเรื่องนโยบายการค้าและสิ่งที่ปักกิ่งทำในแคว้นซินเจียงทางตะวันตก
สองเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกกำลังอยู่ท่ามกลางสงครามการค้า ต่างฝ่ายต่างใช้ใช้มาตรการเพิ่มภาษีตอบโต้กันรวมเป็นมูลค่าหลายแสนล้านดอลลาร์ในการค้าสองทาง
เมื่อวันจันทร์ (6) ทำเนียบขาวประกาศว่าการพูดคุยระหว่างสองประเทศกำลังจะเริ่มต้นอีกครั้งในวันพฤหัสบดี (9) โดยผู้แทนการค้าระดับสูงของปักกิ่ง หลิว เหอ เตรียมที่จะพบกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ และรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง สตีเฟน มนูชิน
ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ได้ยกระดับการกล่าวโจมตีปักกิ่งเกี่ยวกับนโยบายในแคว้นซินเจียง กลุ่มสิทธิหลายกลุ่ม ระบุว่า จีนกักกันชาวอุยกูร์หลายล้านคนและชาวมุสลิมคนอื่นๆ ในค่ายปรับทัศนคติในซินเจียง...
ผู้นำสหรัฐกล่าวว่า กลุ่มไอเอสกำลังจะล่มสลาย
ผู้นำสหรัฐกล่าวว่ากลุ่มไอเอสกำลังล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ประกาศว่า กลุ่มไอเอสกำลังล่มสลาย ในขณะที่นายทรัมป์เข้าพบเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐเพื่อหารือถึงแผนและความคืบหน้าในการกำจัดกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรง
นายทรัมป์กล่าวว่า สหรัฐกำลังทำได้ดีในการต่อสู้กับไอเอส และไอเอสกำลังล่มสลายลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในเดือนนี้กลุ่มไอเอสได้สูญเสียที่มั่นหลักในเมืองโมซุลของอิรักแล้ว ทั้งนี้นายทรัมป์ใช้การรณรงค์หาเสียงด้วยคำมั่นว่าจะเอาชนะกลุ่มไอเอส รวมถึงในคำสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี นายทรัมป์กล่าวว่า จะรวบรวมกลุ่มประเทศเจริญแล้วเพื่อต่อสู้และกำจัดกลุ่มก่อการร้ายหัวรุนแรงให้หมดไปจากโลก รวมถึงมีการลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร เพื่อสั่งการและแนะแนวนโยบายแก่กองทัพสหรัฐด้วยแผนการกำจัดกลุ่มก่อการร้ายที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผย
กลุ่มมุสลิมในแคนาดากังวลเกี่ยวกับ “การชุมนุมความเกลียดชังหน้ามัสยิดโตรอนโต”
กลุ่มอิสลามแห่งชาติแสดงในแคนาดาแสดงความกังวลเกี่ยวกับการประท้วงต่อต้านมุสลิมเมื่อวันศุกร์(17ก.พ.) ด้านหน้ามัสยิดโตรอนโต
สภาแห่งชาติมุสลิมของแคนาดา กล่าวว่า การประท้วงของผู้ประท้วงประมาณเกือบ 20 คน แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่ชัดเจนในการข่มขู่ชุมชนมุสลิม
ภาพบนสื่อมีผู้ประท้วงถือป้ายกับคำขวัญต่อต้านมุสลิมที่กำลังจะเดินเข้าในมัสยิด
ผู้อำนวยการบริหารสภาแห่งชาติบอกว่า “เป็นความสะเทือนใจ” ที่การประท้วงเกิดขึ้นหลังจากเหตุคนร้ายหนึ่งคนได้ก่อเหตุกราดยิงในมัสยิดควิเบกทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย
อิชซาน การ์ดี บอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ชาวแคนาดาเผชิญหน้ากับความเกลียดชังในชุมชนของตน
การประท้วงกลายเป็นประเด็นในรัฐสภาในการประณามอิสลามโฟเบีย ชนชาติ การอภิปรายได้จุดประกายทางด้านชนชั้นและความเสียหายทางเพศ
ปัญหายังดึงดูดความสนใจจาก พรีเมียร์ แคธลีน วายน์
“มีสถานที่สำหรับอิสลามโฟเบียในออนตาริโอ ขอบคุณสำหรับผู้ยืนอยู่กับชุมชนอิสลามกับความเกลียดชัง” วายน์ทวีตข้อความ
A national Islamic group is expressing alarm about a small anti-Muslim protest held Friday in front of a Toronto mosque.
เกาหลีวางแผนทำมัสยิดเคลื่อนที่สำหรับผู้เข้าชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ผู้เข้าชมมุสลิมและนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2018 จะสามารถละหมาดได้อย่างสะดวกในมัสยิดขนาดเล็กที่มีการวางแผนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศ
มัสยิดเคลื่อนที่จะมีขนาดกว้าง 2.8 เมตร สามารถรองรับ 5-6 คน ซึ่งเป็นทางการขององค์การการท่องเที่ยวเกาหลีแห่งกระทรวงวัฒนธรรมและ การท่องเที่ยวในเกาหลีใต้ระบุว่าเกาหลีใต้มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมที่มาเยือนเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายภูมิภาค และตามที่กระทรวงได้กล่าวไว้ว่า "ห้องละหมาดเคลื่อนที่" จะมีพื้นที่สำหรับการอาบน้ำจละหมาด ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นในภูมิภาคเพื่อดึงดูดผู้เข้าชมชาวมุสลิม
โอลิมปิก2018 จะต้อนรับคณะผู้แทนจาก 94 ประเทศรวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย และนักกีฬาจาก 15 ชาติมุสลิม ส่วนใหญ่จะเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาครั้งใหญ่ครั้งนี้ มีแอลเบเนียอาเซอร์ไบจาน, บอสเนีย และเฮอร์เซโกวีนา, อีริเทรียอิหร่าน, คาซัคสถาน, โคโซโว, คีร์กีซสถาน, เลบานอน, มาเลเซีย, โมร็อกโก, ไนจีเรีย, ปากีสถาน, ตุรกี และอุซเบกิสถาน
กองทัพและผู้นำพลเรือนพม่าจัดประชุมหารือเรื่องวิกฤติโรฮีนจาในรัฐยะไข่
เจ้าหน้าที่ทำเนียบประธานาธิบดีเมียนมากล่าวว่า กองทัพและผู้นำพลเรือนเมียนมาได้จัดการประชุมเรื่อง “ความมั่นคงแห่งชาติ” เมื่อวานนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการสอบสวนภายในเรื่องวิกฤติโรฮีนจาในรัฐยะไข่
การประชุมดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่รัฐบาลของนางออง ซาน ซู จี ขึ้นสู่อำนาจเมื่อปี 2559 มีขึ้นหลังมีการทำข้อตกลงเพื่ออนุญาตให้เจ้าหน้าที่สหประชาชาติหรือยูเอ็น. เข้าไปในรัฐยะไข่ได้ เพื่อประเมินความสามารถที่จะดำเนินการส่งผู้ลี้ภัยโรฮีนจากลับจากบังกลาเทศ ทั้งนี้ ชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจาราว 700,000 คน ได้หลบหนีข้ามพรมแดนเข้าไปในบังกลาเทศ หลังทหารเมียนมาปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายโรฮีนจาในรัฐยะไข่ด้วยความรุนแรงเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ซึ่งยูเอ็น. และสหรัฐกล่าวว่า เป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”
ที่มา : ThaiNews
ข่าวเด็ด
โพสล่าสุด
อินโดฯเตรียมฉีดวัคซีนโควิด-19ให้คนวัย18-59ปีเป็นกลุ่มแรกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
อินโดนีเซียจะให้วัคซีนโควิด-19 ให้ประชากรวัยทำงาน อายุ 18 - 59 ปี เป็นกลุ่มแรก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนวัยทำงานจำนวนมากตกงาน ส่งผลให้เศรษฐกิจอินโดนีเซียถดถอยครั้งแรกในรอบ 2 ทศวรรษ ส่วนประชากรกลุ่มที่ 2 ที่จะได้รับวัคซีน คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป
สำหรับวัคซีนของ Sinovac เป็นวัคซีนส่วนใหญ่ที่จะฉีดให้ประชากรชาวอินโดนีเซีย...