ฮิวแมนไรท์วอทช์โวยบังกลาเทศขัดขวางด้านการศึกษาของเด็กผู้ลี้ภัยโรฮีนจา
ในรายงานที่มีชื่อว่า “เราไม่ใช่มนุษย์หรอกหรือ” ฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวหาบังกลาเทศว่าละเมิดสิทธิเด็กวัยเรียน 400,000 คนที่หลบหนีมาจากเมียนมาร์ และตอนนี้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยค็อกส์บาซาร์
บิล แวร เอสเวลด์ รองผู้อำนวยการด้านสิทธิเด็กของฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกรอยเตอร์ว่า “การลิดรอนสิทธิการศึกษาเด็กทั้งหมดไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อใครเลย ประชาคมโลกจำเป็นต้องแสดงบทบาทและเรียกร้องให้บังกลาเทศและเมียนมาร์เปลี่ยนแนวทาง”
ชาวมุสลิมโรฮีนจากว่า 730,000 คน ลี้ภัยจากเมียนมาร์ไปยังบังกลาเทศนับตั้งแต่การปราบปรามของกองทัพเมียนมาร์เมื่อปี 2007 ภายหลังการก่อเหตุโจมตีของกลุ่มกบฏโรฮีนจา
รายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ ระบุว่า บังกลาเทศห้ามไม่ให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาสมัครเรียนนอกค่ายหรือร่วมการสอบระดับชาติ และยังห้ามไม่ให้หน่วยงานยูเอ็นและกลุ่มช่วยเหลือต่างชาติให้การศึกษาตามมาตรฐานที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ โดยรายงานนี้กล่าวหาเมียนมาร์ว่าไม่ยินยอมให้ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของเมียนมาร์ในค่ายเหล่านี้
หัวหน้าคณะกรรมการการเยียวยาและส่งกลับผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศ มาห์บับ อลัม ทาลุคเดอร์ กล่าวว่า มันไม่เป็นความจริงที่เด็กๆ ในค่ายไม่ได้รับการศึกษาและว่า มีศูนย์การเรียน 4,000 แห่งในค่าย
“ชาวโรฮีนจาจะต้องกลับไปเมียนมาร์ พวกเขาไม่ใช่พลเมืองของเราและเราไม่สามารถให้พวกเขาใช้หลักสูตรแห่งชาติของเราได้” เขาบอกรอยเตอร์ รัฐบางเมียนมาร์ยังไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอความคิดเห็นของรอยเตอร์
ที่มา : MGR Online
มุสลิมกลุ่มอนุรักษ์นิยมอินโดนีเซียชุมนุมอย่างสันติเพื่อส่งเสริมความสามัคคี
ชาวมุสลิมกลุ่มอนุรักษ์นิยมจำนวนมากจัดการชุมนุมอย่างสันติใจกลางกรุงจาการ์ตาในวันนี้ หนึ่งในกลุ่มที่ร่วมชุมนุมเผยว่า ต้องการส่งเสริมความสามัคคีเพราะอินโดนีเซียเกิดรอยร้าวทางศาสนาตั้งแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนเมษายนปีนี้
ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่สวมชุดขาวและถือธงอิสลาม เริ่มชุมนุมเพื่อสวดมนต์ที่อนุสาวรีย์แห่งชาติเมื่อเวลา 03.00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลาเดียวกันในไทย มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทั้งทหารและตำรวจดูแลความเรียบร้อยกว่า 6,000 นาย ตำรวจเผยว่ามีผู้ชุมนุมกว่า 12,000 คน แต่ผู้จัดการชุมนุมแย้งว่า มีมากกว่านั้น โฆษกกลุ่มอะนัมไน 212 ที่ตั้งชื่อตามการประท้วงใหญ่ต่อต้านผู้ว่ากรุงจาการ์ตาเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมปี 2559 กล่าวว่า การกลับมาชุมนุมใหม่ในวันนี้ต้องการตอกย้ำว่า อินโดนีเซียกำลังต้องการความสามัคคีอย่างยิ่งเพื่อให้สามารถลืมความแตกต่างและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ทางการกลับเพ่งเล็งนักสอนศาสนาบางคนอย่างไม่เป็นธรรม ทางกลุ่มต้องการให้อินโดนีเซียก้าวหน้าอย่างยุติธรรม เพราะรู้สึกว่ากำลังมีความอยุติธรรมอยู่
นักวิเคราะห์ความมั่นคงมองว่า การที่ พล.ท.ปราโบโว ซูเบียนโต รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมในคณะรัฐบาลของประธานาธิบดีโจโก วิโดโด หลังจากพ่ายการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน ทำให้กลุ่มอะนัมไน 212 อ่อนกำลังกว่าที่ผ่านมาเพราะ พล.ท.ปราโบโวไม่เข้าร่วมการชุมนุมในวันนี้ ทั้งที่เคยกล่าวปราศรัยต่อการชุมนุมลักษณะเดียวกันเมื่อปีก่อน
ที่มา :...
อิหร่านสั่งปิดสถานศึกษาในเตหะรานและหลายจังหวัดหลังเจอปัญหามลพิษในอากาศ
สำนักข่าวไออาร์เอ็นเอของทางการอิหร่าน รายงานว่า รัฐบาลอิหร่านสั่งปิดสถานศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษาในกรุงเตหะรานและหลายจังหวัดทั่วประเทศ เนื่องจากมลพิษทางอากาศและหมอกควันพิษซึ่งปกคลุมพื้นที่ติดต่อกันนานหลายวัน พร้อมเตือนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็กเล็ก คนชรา และผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ อยู่ภายในอาคารและงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง
นอกจากนี้ ทางการอิหร่าน ยังกำหนดมาตรการการใช้รถส่วนบุคคลวันคู่และวันคี่ รวมถึงห้ามรถบรรทุกแล่นในเขตเมือง เพื่อจำกัดจำนวนรถยนต์บนท้องถนน รวมถึงลดปริมาณฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศ ด้าน เว็บไซต์ตรวจวัดสภาพอากาศของทางการอิหร่าน ระบุว่า ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศในพื้นที่กรุงเตหะรานวันนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ 146 ไมโครกรัม ต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ที่มา : ThaiNews
พม่าโต้ศาลไอซีซีสอบสวนละเมิดโรฮีนจา ระบุไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
พม่าแสดงความเห็นตอบโต้หลังถูกกดดันหนักจากการฟ้องร้องดำเนินคดีที่เพิ่มขึ้นไปทั่วโลกในข้อกล่าวหาว่าพม่าก่ออาชญากรรมต่อชาวโรฮีนจา โดยพม่าระบุว่า การสอบสวนของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 62 ศาลอาญาระหว่างประเทศได้อนุมัติรับรองการสอบสวนเต็มรูปแบบต่อการปราบปรามทางทหารต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจาเมื่อปี 2560 ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นหลังกลุ่มสิทธิมนุษยชนยื่นฟ้องในอาร์เจนตินา
เมื่อ 2 ปีก่อน ชาวโรฮีนจาราว 740,000 คน หลบหนีออกจากพม่าข้ามพรมแดนไปลี้ภัยอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ความรุนแรงที่ผู้สืบสวนสหประชาชาติระบุว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งโฆษกรัฐบาลพม่ากล่าวป้องการปราบปรามว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกำจัดกลุ่มติดอาวุธและปฏิเสธที่จะยอมรับอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศ
“การสอบสวนพม่าโดยศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นไม่เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ”
แม้พม่าไม่ได้เป็นสมาชิกศาล แต่ศาล ICC ระบุว่า มีขอบเขตอำนาจศาลต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮีนจาเพราะบังกลาเทศที่ชาวโรฮีนจาเข้าไปอาศัยลี้ภัยนั้นเป็นประเทศสมาชิก
ซอ เต โฆษกรัฐบาลพม่าย้ำว่า คณะกรรมการของพม่าจะดำเนินการสอบสวนการละเมิดเอง และดำเนินการต่อผู้ที่รับผิดชอบหากจำเป็น แต่ฝ่ายนักวิจารณ์ติงว่า การดำเนินการของคณะกรรมการภายในประเทศนั้นเป็นความพยายามที่จะปกปิดความจริง
ที่มา : MGR Online
ศาลอาญาระหว่างประเทศไฟเขียวอัยการสอบสวนคดีพม่าละเมิดโรฮีนจาเต็มรูปแบบ
ผู้พิพากษาหนุนคำร้องของอัยการที่ร้องขอการสอบสวนในข้อกล่าวหาการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและการข่มเหงรังแกจากเหตุการณ์การปราบปรามของทหารต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮีนจาในปี 2560 ซึ่งการตัดสินใจของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือไอซีซี (ICC) มีขึ้นหลังนางอองซานซูจี ตกเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกระบุชื่อในการยื่นฟ้องที่อาร์เจนตินาเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อชาวโรฮีนจา ทั้งนี้ชาวโรฮีนจามากกว่า 740,000 คน จำต้องหลบหนีข้ามแดนไปอาศัยในค่ายแออัดที่บังกลาเทศ จากความรุนแรงที่ผู้สืบสวนของสหประชาชาติระบุว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ศาลไอซีซี ที่กรุงเฮก ระบุว่า ได้อนุญาตให้อัยการดำเนินกระบวนการสอบสวนข้อกล่าวหาการก่ออาชญากรรมภายในขอบเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพม่า ที่ยังรวมถึงข้อกล่าวหาของความรุนแรงที่กระทำอย่างเป็นระบบ การเนรเทศที่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการกดขี่ข่มเหงในเรื่องศาสนาหรือชาติพันธุ์ต่อชาวโรฮิงญา ซึ่งพม่าได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้มาโดยตลอด
พม่าไม่ได้เป็นสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ศาลระบุเมื่อปีก่อนว่ามีขอบเขตอำนาจต่อคดีการก่ออาชญากรรมต่อชนกลุ่มน้อยโรฮีนจาเพราะบังกลาเทศ ที่ชาวโรฮีนจาอาศัยอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย เป็นสมาชิกศาล โดย "ฟาโต เบนโซดา" หัวหน้าอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ได้รับอนุญาตให้เปิดการสอบสวนเบื้องต้นกรณีพม่าในเดือน ก.ย.2561 และยื่นขอดำเนินการสอบสวนอย่างเต็มรูปแบบในเดือน ก.ค.2562
เบนโซดา ระบุว่า "รู้สึกยินดีกับการตัดสินใจของศาล และระบุว่า เป็นการพัฒนาที่สำคัญและส่งสัญญาณบวกไปถึงผู้ที่เป็นเหยื่อของอาชญากรรมอันโหดร้ายในพม่าและที่อื่นๆ"
ที่มา : MGR Online
เกิดเหตุคาร์บอมใกล้กระทรวงมหาดไทยในกรุงคาบูลของอัฟกานิสถานตาย 7 เจ็บ 7
เอเอฟพี เผย มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คนและบาดเจ็บ 7 คนเมื่อระเบิดติดรถยนต์ถูกจุดชนวนในช่วงชั่วโมงเร่งตอนเช้าของกรุงคาบูลวันที่ 13 พ.ย. 62 โดยโฆษก นัสรัต ราฮิมี กล่าวว่า "เหตุระเบิดเกิดขึ้นในชุมชนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กระทรวงมหาดไทยและห่างจากสนามบินคาบูลไปทางเหนือ ซึ่งผู้เสียชีวิตเป็นพลเรือนทั้งหมด นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้น รายละเอียดเพิ่มเติมจะตามมาในภายหลัง"
แหล่งข่าวที่กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ระเบิดถูกจุดชนวนโดยมือระเบิดฆ่าตัวตายในรถยนต์คันดังกล่าว และว่า มันมุ่งเป้าขบวนรถรัฐบาลบนถนนใหญ่
เหตุระเบิดเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดี อัชราฟ กานี ของอัฟกานิสถานประกาศว่า คาบูลจะปล่อยตัวนักโทษตอลิบานระดับสูง 3 คนแลกกับตัวประกันชาวตะวันตกที่ถูกตอลิบานลักพาตัวในปี 2016 ซึ่งนักโทษตอลิบาน 3 คนนี้รวมถึง อานัส ฮักกอนี ที่ถูกจับกุมในปี 2014 พี่ชายของเขาเป็นรองผู้นำตอลิบานและหัวหน้าเครือข่ายฮักกอนี กลุ่มย่อยของตอลิบานที่มีชื่อเสียงในทางไม่ดี
กานีไม่ได้บอกถึงชะตากรรมของตัวประกันชาวตะวันตก ได้แก่ ชาวออสเตรเลีย...
แกมเบียยื่นฟ้องต่ออศาลโลกว่าพม่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยโรฮีนจา
นายอาบูบาการร์ ทัมบาโด รัฐมนตรียุติธรรมแกมเบีย แถลงข่าวที่กรุงเฮกในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลโลกในวันนี้ว่า แกมเบียได้ยื่นคำร้องตามอนุสัญญาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 1948 ที่ห้ามรัฐภาคีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ขัดขวางและลงโทษผู้กระทำความผิดฆ่าล้างพันธุ์ เพื่อให้ศาลลงโทษเมียนมาที่กระทำกับชาวโรฮีนจาที่เป็นประชาชนของตนเอง หากคนรุ่นนี้ไม่ทำอะไรทั้งที่เห็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาจะถือเป็นเรื่องน่าละอายมาก
แกมเบียเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานี้เช่นเดียวกับเมียนมา ยื่นคำร้องโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมืออิสลามหรือโอไอซี (OIC) ขอให้ศาลโลกออกมาตรการชั่วคราวที่จะสร้างหลักประกันว่า เมียนมาจะยุติความโหดร้ายและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮีนจาที่เป็นประชาชนของตนเองโดยทันที บริษัทกฎหมายที่ช่วยเหลือแกมเบียคาดว่า ศาลจะเปิดการไต่สวนในเดือนหน้า อนึ่ง แม้ศาลโลกซึ่งมีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐไม่สามารถบังคับให้รัฐทำตามคำตัดสิน แต่รัฐที่ไม่ทำตามก็อาจทำให้ชื่อเสียงบนเวทีโลกมัวหมองได้
ชาวโรฮีนจากว่า 730,000 คนหนีข้ามพรมแดนจากเมียนมาเข้าไปในบังกลาเทศตั้งแต่กองทัพเมียนมายกกำลังเข้าไปในปี 2560 คณะผู้สอบสวนของสหประชาชาติระบุว่า เป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ทางการเมียนมาปฏิเสธและยืนยันว่าต้องการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธแยกดินแดนในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศเท่านั้น
ที่มา : สำนักข่าวไทย
เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามฯได้รับเชิญเป็นเจ้าภาพร่วมในงานวากัฟโลก
วันที่ 11 พ.ย. 62 พล.ต.ต. สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้รับเชิญในฐานะเจ้าภาพร่วมในการจัดงานวากัฟโลกครั้งที่ 7 (7th GLOBAL WAQF CONFERENCE) โดยมี เจ้าชาย ดร.บันดัร บินซัลมาน, ศ.ดร. ซะอัด อัลซาซีรี ที่ปรึกษากษัตริย์ซัลมานและราชวงศ์, กษัตริย์จากประเทศไนจีเรีย ให้การบรรยายถึงการวากัฟของประเทศทั้งสอง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
.
.
.
.
ศาลมาเลเซียจำคุกชายเอาแมวใส่เครื่องปั่นเสื้อผ้าจนตาย 38 เดือนปรับ 3 แสนบาท
สำนักข่าวเบอร์นามา ของทางการมาเลเซียรายงานวันนี้ว่า เค คเณศ วัย 42 ปี ถูกศาลตัดสินลงโทษเมื่อวันอังคารหลังจากศาลลงความเห็นว่าเขามีความผิดจากการละเมิดกฎหมายปกป้องสิทธิสัตว์ ที่ทำร้ายแมวที่ร้านซักรีดแบบบริการตนเองที่นอกกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ขณะนี้เขายังไม่ได้เข้ารับโทษในเรือนจำเนื่องจากเขามีแผนการที่จะยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของศาล เค คเณศ เป็นบุคคลที่ 2 ที่ถูกศาลตัดสินลงโทษจากการฆ่าแมวครั้งนี้ หลังจากที่คนขับรถแท็กซี ถูกศาลตัดสินจำคุก 2 ปี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
คลิปภาพจากโทรทัศน์วงจรปิดภายในร้านซักรีดจับภาพในขณะที่แมวถูกจับยัดเข้าไปในเครื่องปั่นแห้งเสื้อผ้าในช่วงดึกของวันเกิดเหตุ และคลิปภาพถูกเผยแพร่และแชร์ออกไปอย่างรวดเร็วทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจในกลุ่มชาวมาเลเซีย ในภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ชาย 2 คน หยอดเหรียญในเครื่องปั่นแห้งหลังจากขังแมวไว้ภายในก่อนที่จะเปิดใช้งานเครื่องและออกจากร้านไป ลูกค้าผู้หญิงที่เข้ามาใช้บริการพบซากแมวในเครื่องปั่นเสื้อผ้าและแจ้งตำรวจ ผู้พิพากษากล่าวว่า เขาหวังว่า การตัดสินลงโทษในครั้งนี้จะเป็นบทเรียนให้กับผู้กระทำผิดและประชาชนได้เรียนรู้ว่า อย่ากระทำทารุณต่อสัตว์ ขณะนี้ยังใม่ทราบสาเหตุว่า บุคคลทั้งสองจับแมวใส่ไว้ในเครื่องปั่นแห้งเสื้อผ้าเพื่ออะไร
ที่มา : สำนักข่าวไทย
สหรัฐฯและอีก 22 ประเทศเรียกร้องให้จีนเลิกกักขังอุยกูร์และมุสลิมกลุ่มอื่น
รัฐบาลจีนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเรื่องการจัดตั้งค่ายลับขึ้นมาหลายแห่งในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ โดยอ้างว่าเป็นเพียง “ศูนย์ฝึกอาชีพ” ที่มุ่งสกัดกั้นลัทธิหัวรุนแรง และทำให้ประชาชนที่นั่นได้มีทักษะใหม่ๆ ในการดำรงชีวิต
ข้อมูลยูเอ็นระบุว่า มีชาวอุยกูร์และมุสลิมกลุ่มอื่นๆ ถูกกักขังเอาไว้ในค่ายเหล่านี้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน โดย จาง จุน เอกอัครราชทูตจีนประจำยูเอ็น ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจได้ว่า ในขณะที่คุณพยายามทำข้อตกลงการค้า แต่กลับยกประเด็นอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน มาป้ายสีความผิดให้อีกฝ่าย”
จาง ยอมรับว่า ข้อตกลงการค้าจีน-สหรัฐฯ “คืบหน้า” ไปมาก แต่ขณะเดียวกันก็ย้ำว่า สิ่งที่วอชิงตันวิพากษ์วิจารณ์จีนผ่านเวทียูเอ็นนั้น “ไม่ได้ช่วยให้เราพบทางออกที่ดีในประเด็นการค้า”
คณะผู้แทนจีนและสหรัฐฯ อยู่ระหว่างร่างเนื้อหาของข้อตกลงการค้าฉบับชั่วคราวเพื่อให้ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ลงนามระหว่างการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่ชิลีในวันที่ 16-17 พ.ย. นี้
เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ คนหนึ่งระบุเมื่อวันอังคาร...
ข่าวเด็ด
โพสล่าสุด
ญาติชาวปาเลสไตน์ที่ถูกยิวสังหาร ถูกเชิญมาทำฮัจย์ในฐานะแขกของกษัริย์ซาอุฯ
ญาติชาวปาเลสไตน์ที่ถูกยิวสังหาร ถูกเชิญมาทำฮัจย์ในฐานะแขกของกษัริย์ซาอุดิอาระเบีย
ทางการซาอุดิอาระเบียเตรียมความพร้อมเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจย์ของชาวปาเลสไตน์กว่า 1,000 คน ที่เป็นญาติกับผู้ที่ถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล
นายอับดุลลอฮ์ อัล-มาดาลจ์ เลขาธิการแห่งกษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลอะซิซ เผยว่า ได้จัดเตรียมความพร้อมสำหรับผู้แสวงบุญทั้งในด้านของที่พัก การเดินทาง และอาหาร
การเชิญญาติของผู้เสียชีวิตจากกองกำลังอิสราเอลมาประกอบพิธีฮัจย์ในฐานะแขกของกษัตริย์นี้ ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 9 แล้ว ทั้งนี้ เพื่อตระหนักถึงความกล้าหาญและเสียสละของพวกเขา และเป็นการเยียวยาความเจ็บปวดทางจิตใจให้กับบรรดาเครือญาติ โดยซาอุดิอาระเบียนั้นได้ช่วยเหลือและสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างเต็มที่